สาย PoE (Power over Ethernet) มีวิธีการติดตั้ง และการใช้งานอย่างไร

20 October 2021 1669

สาย PoE มีวิธีการติดตั้ง และการใช้งานอย่างไร

    ปัจจุบันระบบ Power over Ethernet (PoE) มีความนิยมในการใช้งานเป็นอย่างมากและสาย PoE แบบมีโครงสร้างมีการพัฒนาเป็นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา บทความนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับการเดินสายและการปรับใช้ PoE


รูปแบบการออกแบบภาพรวมของระบบ PoE

    ระบบ PoE ทั่วไปจะประกอบด้วย PSE (Power Source Equipment), Power Device (PD) และสาย PoE วิธีการเดินสายสำหรับระบบ PoE จะมี 2 แบบคือการเดินสายเคเบิลแบบเฉพาะและการเดินสายเคเบิลตามโซน

    1.การเดินสายเคเบิลแบบเฉพาะ

    ในการออกแบบการเดินสายแบบเฉพาะนั้น สวิตช์ PoE และแผงแพทช์จะอยู่ในห้องควบคุมtelecommunications room (TR) จะมีการเดินสายแบบถาวรไปที่อุปกรณ์แต่ละตัว ทั้งข้อมูลและพลังงานจะส่งจากห้องควบคุมไปที่อุปกรณ์ต่าง ๆ โดยจะใช้สายแพตช์ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์

    ในการออกแบบในรูปแบบนี้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อต่าง ๆ นั้นจะไปรวมไว้ในห้องควบคุม ทำให้การควบคุมและการดูแลรักษานั้นง่าย แต่จะมีข้อเสียก็คือความไม่ยืดหยุ่นของการปรับของสายเคเบิ้ลทำให้การแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนตำแหน่งต่าง ๆ อาจจะยุ่งยาก

PoE Home-run Cabling Architecture

    2.การเดินสายเคเบิลตามโซน

    การเดินสายแบบนี้จะเป็นการระบุตำแหน่งทั้งหมดให้อยู่ในจุดควบคุมเช่นเดียวกัน แต่จะต้องเพิ่มจุดควบคุมไว้หลายจุด ซึ่งมีข้อดีคือสะดวกในการเคลื่อนย้ายหรือปรับเปลี่ยน โดยปกติไฟเบอร์ออฟติกจะเชื่อมต่อสวิตช์ PoE ในสวิตช์ TE และแบบ Non-PoE จะเชื่อมต่อใน TR ส่วนสายทองแดงจะวิ่งจาก TE ไปยังเต้ารับอุปกรณ์

PoE Passive Zone Cabling Architecture

     เมื่อเทียบกันในการเดินสายทั้ง 2 แบบแล้ว การเดินสายเคเบิลตามโซนจะช่วยให้การจัดการในการเคลื่อนย้ายหรือแก้ไขได้สะดวกมากกว่า เนื่องจากมีการเชื่อมต่อกับจุดควบคุมที่สั้นกว่า

 PoE Active Zone Cabling Architecture

ข้อดีของการเดินสาย PoE

    การเดินสาย PoE จำนวนสายจะน้อยกว่าการเดินสายแบบเก่ามาก เพราสายในโครงสร้างแบบเดิมนั้นจะมีสายหลายเส้นทำให้วุ่นวายและดูแลรักษายาก เมื่อเทียบกับสาย PoE ยังมีกำลังที่ส่งสูงกว่าอีกด้วย ทำให้ใช้งานง่ายและประหยัดมากกว่าการเดินสายแบบเก่าอย่างมาก

 Cabling Topology Comparsion

ประโยชน์ของการใช้ PoE มีความโดดเด่นดังนี้

    โครงสร้างของระบบ : การเดินสายแบบนี้ทำให้การเดินสายนั้นมีความสะดวกขึ้นเปลี่ยนจากการใช้สายหลายสายเป็นเส้นเดียวที่รันจากสวิตช์ PoE ใน TR และสามารถทำให้ระเบียบด้วยจุดเชื่อมต่ออีกด้วย

    การแก้ไขในแต่ละจุด : สามารถแก้ไขได้ง่ายกว่าสายแบบเก่าอย่างมากโดยไม่ต้องยุ่งยาก สามารถปรับจากจุดรวมด้วยสายแพตช์ได้เลย

    การใช้งานที่มากขึ้น : อย่างที่บอกสายประเภทนี้มีการส่งพลังงานสูงมากขึ้นทำให้พื้นที่ ที่รองรับพอร์ตมากขึ้นด้วย

    การควบคุมประสิทธิภาพ : สามารถควบคุมประสิทธิภาพของการทำงานได้ง่ายขึ้น โดยใช้แค่ Wi-Fi ที่เชื่อมต่อกับ LAN ในการควบคุม

    การบำรุงรักษา : ในการบำรุงรักษาสามารถทำได้ง่ายขึ้นเนื่องจากไม่ต้องเดินสายใหม่เมื่อมีการติดตั้งเพิ่มเติมทำให้การปรับเปลี่ยนและการอัปเดตง่ายมากขึ้น

    ความคุ้มค่าในการใช้งาน : ในการติดตั้งช่วงแรกอาจจะใช้ค่าใช้จ่ายจำนวนมาก แต่หากใช้ในระยะยาวนั้นมีความคุ้มค่าเป็นอย่างมาก

 

    PoE ถูกใช้เพื่อจ่ายไฟให้กับฮับในตู้เก็บสายไฟ จากนั้นจึงพัฒนาเพื่อขยายไปยังอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เช่น จุดเข้าใช้งาน Wi-Fi และกล้องรักษาความปลอดภัย

 

    เพื่อยกระดับความสามารถสูงสุดของ PoE นักออกแบบเครือข่ายมักจะหันไปใช้ออกแบบการเดินสายเคเบิลแบบแบ่งโซน เป็นทางเลือกแทนการเดินสายเคเบิลแบบดั้งเดิม ด้วยความทันสมัยของเทคโนโลยี PoE จึงทำให้การใช้งานเป็นเรื่องปกติในปัจจุบัน

สำหรับการใช้งานแบบไร้สาย การเดินสายแบบนี้สามารถทำให้รวมเข้ากับระบบเครือข่ายได้ง่ายขึ้น ทำให้สามารถเพิ่มจุดเชื่อมต่อ PoE ได้มากขึ้นและรวดเร็ว โดยจะเชื่อมในจุดที่จัดไว้ซึ่งสามารถทำได้หลายจุดทำให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากขึ้น

 Open Office Scenario

    นอกจากนี้กล้องวงจรปิดยังเป็นที่นิยมในการใช้ PoE ในการส่งพลังงานและสัญญาณ ซึ่งสามารถส่งจาก TE เพื่อจ่ายไฟให้กับ PoE IP ได้ และยังใช้งานในการบริการโทรศัพท์อีก

การเดินสายก็เป็นสิ่งที่สำคัญในการจัดการ การออกแบบต่าง ๆ ซึ่งพิจารณาสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่จะติดตั้ง ซึ่งสาย PoE ได้ตอบโจทย์กับโครงสร้างพื้นฐานของข้อมูลเพื่อรองรับการใช้งาน

 

    PoE จะช่วยให้สามารถเชื่อมต่อในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ IP กล้องวิดีโอ หรืออะไรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบเชื่อมต่อการสื่อสาร การนำเทคโนโลยีไปใช้กับการออกแบบเป็นแนวทางที่คุ้มค่าเป็นอย่างมาก การเดินสาย PoE ได้เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบันอย่างมาก

 

 

 

 

 

 

 

 



 

ขอขอบคุณ

ที่มา https://community.fs.com/blog/poe-cabling-architectures-and-applications.html

แปลภาษาและแก้ไขโดย : PBA Supply