การต่อ Multimode Fiber 62.5μmและ50μm เข้าด้วยกันสามาถใช้ได้หรือไม่ มีข้อควรระวังอย่างไร

24 October 2021 645

การต่อ Multimode Fiber 62.5μmและ50μm เข้าด้วยกันได้หรือไม่

    Multimode fiber หมายถึงเส้นใย50/125μmและเส้นใย62.5/125μm เป็นศูนย์กลางแกนพลาสติกของสายไฟเบอร์ออฟติก ทำหน้าที่เชื่อมต่อเข้าถึงรหัส และ 125μm จะเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางของส่วนที่หุ้ม ซึ่งในแกนกลางก็มีความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับแบนด์วิดท์ ถ้าแกนเล็กจะทำให้แบนด์วิดท์สูงขึ้น

1.jpg

ภาพแกนกลางของสายแต่ละประเภท


    Multimode Fiber สามารถแบ่งออกเป็น OM1 fiber, OM2 fiber, OM3 fiber, OM4 fiber และ OM5 fiber ซึ่งมีการใช้กำหนดมาตรฐาน ISO 11801 ซึ่ง OM1 fiber จะเป็นเส้นใยแบบ 62.5/125μm และ OM2 fiber, OM3 fiber, OM4 fiber และ OM5 fiber จะเป็นเส้นใยแบบ 50/125μm Multimode Fiber จะช่วยให้สามารถเผยแพร่ไฟเบอร์ได้หลายโหมด ด้วยขนาดแบนด์วิดท์ที่ต่างกันทำให้การทำงานแต่ละประเภทต่างกัน ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไหร่ ระยการส่งก็จะเร็วมากขึ้นเท่านั้น

 

ทำไมเราต้องใช้ Multimode Optical Fiber ร่วมกัน

    โดนทั่วไป light-emitting diode (LED) และ 62.5μm fiber จะใช้อีเทอร์เน็ต 10/100Mbps ด้วยความจำเป็นในการอัพเกรดเครือข่ายเพื่อให้ได้อัตราที่สูงขึ้น จึงจำเป็นต้องมีแหล่งกำเนิด vertical-cavity surface-emitting laser  (VCSEL) สามารถใช้ได้งานดีกว่า LED ทำให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานมากกว่า สำหรับระยะการส่งข้อมูลที่ยาวนาน เส้นใย 50μm จะถูกนำมาใช้มากกว่าเส้นใย 62.5μm ดังนั้นการติดตั้งในสถานที่ส่วนใหญ่จึงใช้ไฟเบอร์ 50/125μm สำหรับ 1/10/100 Gigabit Ethernet แทนไฟเบอร์แบบเดิม 62.5/125μm แต่แบบเดิมก็ยังมีการใช้งานอยู่มากจึงทำให้เกิดการใช้งานร่วมกันขึ้น

 

การรวม Multimode Optical Fiber จะมีปัญหาอะไรบ้าง

    ปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ร่วมกันของ 62.5/125µm multimode fiber และ 50/125µm multimode fiber มี 2 อย่างคือ 1.แสงจะเข้าไปในไฟเบอร์ 62.5/125µm จากไฟเบอร์ 50/125µm 2.แสงจะเข้าไปในไฟเบอร์ 50/125µm จากไฟเบอร์ 62.5/125µm

 2.jpg

    ในกรณีนี้แกนที่เล็กกว่าของไฟเบอร์ 50/125µm สามารถเชื่อมต่อกับไฟเบอร์ 62.5/125µm ได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นจะไม่ค่อยมีปัญหา แต่ก็จะมีปัญหาใหญ่คือ เมื่ออัพเกรดเป็นไฟเบอร์มัลติโหมด 50/125µm จาก 62.5/125µm อาจจะทำให้การเชื่อมต่อล้มเหลว เมื่อไฟเบอร์มัลติโหมดขนาด 62.5/125µm ถูกผสมกับไฟเบอร์มัลติโหมดขนาด 50/125µm แสงในไฟเบอร์ขนาด 62.5/125µm จะเข้าไปในส่วนหุ้มของไฟเบอร์มัลติโหมดขนาด 50/125µm ซึ่งอาจทำให้เกิดการสูญเสียการเชื่อมต่อ หากมีปัญหามากเส้นใย62.5μmและ50μm จะไม่สามารถใช้ได้

 

ความมั่นใจในการใช้ เส้นใย62.5μm ร่วมกับเส้นใย 50μm

    อาจจะมีความเสี่ยงในการจับคู่ผิดพลาด การทดสอบการเชื่อมต่อเส้นใย 62.5μm กับเส้นใย 50μm VCSEL มีการสูญเสียส่วนเกินเล็กน้อยที่ 20 เมตรกว่าที่ 1 เมตรหรือ 520 เมตร การทดสอบโดยใช้ LED เป็นแหล่งกำเนิดแสงทั้งหมด

    ถึงแม้ว่าการใช้งานของ เส้นใยขนาด 50μm และ 62.5μm จะสามารถใช้งานร่วมกันได้กับอุปกรณ์แหล่งกำเนิดพลังงาน แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนแนะนำว่าไม่ควรผสมเส้นใยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพราะผสมการใช้งานร่วมกันอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่าง ๆ ได้

 

    ในการใช้งานร่วมกันของไฟเบอร์ 62.5μm และ 50μm ก็มีแบนด์วิดท์ที่แตกต่างกันและผู้ผลิตที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจจะทำให้อุปกรณ์จากแต่ละที่นั้นมีการทำงานที่แตกต่างกันออกไฟ ในการใช้งานนั้นจึงไม่ควรใช้ร่วมกันและต้องได้รับการตรวจสอบอย่างรอบครอบก่อนที่จะใช้งาน






ขอขอบคุณ

ที่มา : https://community.fs.com/blog/necessity-and-standards-of-electrical-wiring-color-codes.html

แปลภาษาและแก้ไขโดย : PBA Supply